วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไทยศึกษา ปี 1

ไทยศึกษา หน่วยที่1

สังคม..เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน ไม่ว่าจะในด้านใด เช่นประเทศจังหวัดและอื่นๆ
วัฒนธรรม..โดยทั่วไปหมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์ และโครงสร้าง เชิง สัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรม และสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น..ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

เทคโนโลยี่..วิชาการประยุกต์ อาศัยการได้รับความรู้จากสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาการความรู้นั้นมาใช้กับธรรมชาติที่มีอยู่เดิมให้สภาพดีกว่าเดิม อันเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิต
.....นอกจากคำว่าวัฒนธรรมแล้ว ในทางมนุษย์ศาตร์ยังมีคำว่า อารยธรรม ซึ่งมีความหมายสองนัย นัยหนึ่งใช้ในความหมายเดียวกับ วัฒนธรรม อีกนัยหนึ่ง หมายถึง พัฒนาการของสังคมในอดีตที่เจริญที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในยุคเดียวกัน ในแง่ประวัติศาตร์ มักใช้คำว่า อารยธรรม เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมที่มีความเจริญสูง และส่งอิทธิพล ต่อวัฒนธรรมอื่นๆ เช่นอารยธรรมจีน อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมกรีก อารยธรรมโรมันเป็นต้น....

* ผลเสียที่เกิดจากสภาพทำเลที่ตั้งของประเทศไทย และเห็นเด่นชัดในปัจจุบัน ....
สมัยโบราณไม่เน้นเส้นกั้นเขตแดน จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ มีเฉพาะปัญหาการถูกรุกรานได้ง่าย แต่ในปัจจุบันจะเห็นเด่นชัดว่า ได้ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเส้นกั้นเขตแดนกับเพื่อนบ้าน และต้องสิ้นเปลืองกำลัง รวมทั้งงบประมาณในการดูแลป้องกันรักาแนวพรมแดน..
****สภาพภูมิศาตร์ของดินแดนไทยก่อผลใดต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย
..... สภาพภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการพัฒนาการทางประวัติศาตร์ ของมนุษย์ชาติ ในแต่ละภูมิภาคของโลก
* ในกรณีประเทศไทย นั้นทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของผืนแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีดินแดนทางด้านตอนเหนือตอนกลาง และทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นส่วนใหญ่เป็นเขตของแผ่นดินใหญ่ ติดต่อกับเพื่อนบ้านได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนดินแดนทางภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลึกลงไปในทะเล สามารถติดต่อกับ มาเลียเซีย สิงค์โปร์ และหมู่เกาะอินโดนีเซีย นอกจากนั้นแล้ว ทั้งดินแดนตอนกลางและตอนใต้ ยังเป็นบริเวณที่ติดต่อกับทะเล ใด้ ทั้งทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิค โดยผ่านอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และด้านมหาสมุทรอินเดีย โดยผ่านชายฝั่งทะเลตะวันตก...ทำเลที่ตั้งเช่นนี้ ในแง่ภูมิศาตร์การเมืองมีทั้งผลดีและผลเสีย
...ผลดี ทำให้สามารถติดต่อกับดินแดนอื่นๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้สะดวก สามารถใช้ประโยชน์จากทะเล ทั้งการคมนาคมขนส่ง และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลได้
....ผลเสีย เรื่องการดูแลเขตแดน..

***1.1.3***
วัฒนธรรมของสังคม ย่อมมีวิถีการพัฒนาไปตามปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกันออกไป บางวัฒนธรรมอาจวิวัฒน์ไปช้าๆเรียบง่าย เช่นวัฒนธรรมของพวกชาวเขา ในขณะที่บางวัฒนธรรมอาจพัฒนาไปรวดเร็วและมีความซับซ้อน เช่นร วัฒนธรรมของพวกชาวเมืองในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก แต่โดยรวมแล้วต่างมีวิวัฒนาการยาวนาน และมีขั้นตอนเป็นลำดับคล้ายกัน อนึ่ง วัฒนธรรมที่วิวัฒน์ช้าๆนั้น จะมาถึงตอนเป็นชุมชน แล้วมิได้ขยายต่อเป็นเมือง จึงมีสภาพเป็นวัฒนธรรมชุมชน วัฒนธรรมมีขั้นตอนของการวิวัฒน์ดังนี้
-------การตั้งถิ่นฐาน ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 3 ประการ
* อาหารเพียงพอ
* ความปลอดภัย
* การคมนาคมที่สะดวก
สภาพภูมิศาสตร์มีความสำคัญมาก
การตั้งถิ่นฐาน
* มีภาษาพูดกันแล้ว
* จากสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล ความเชื่อสิ่งลึกลับ ผีสางเทวดา พิธีกรรมต่างๆ
เมื่อความเป็นอยูดีขึ้นจึงมีการคิดค้น เทคโนโลยี่ เช่น
* การเพราะปลูกพืชหลายอย่าง
*การชลประทาน
* การทอผ้า
* การสร้างบ้านบนเสาสูง
เมื่อชุมชนขยายใหญ่จนเป็นเมือง
* มีการจัดระเบียบการปกครอง มีหัวหน้า มีกษัตริย์
* มีการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
*มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาษาเขียน (เข้าสู่สมัยประวัติศาตร์)
1.2
**จากยุคหินสู่สมัยประวัติศาสตร์
* ยุคหินในดินแดนประเทศไทย
* ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย
* การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์

1.2.1***(ยุคหินในดินแดนประเทศไทย)
* หินเก่า อายุ ประมาณ 500,00 ปี หรือ 200,00- 10,000 ปี
สร้างเครื่องมือหินกรวด แบบกระทะหน้าเดียว แบบสับตัดและมีขนาดใหญ่ อาศัยตามถ้ำ เพิงผา ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ เก็บผลไม้ เร่ร่อนไปเรื่อยเมื่ออาหารหมด
วัฒนธรรมหินเก่า พบในเขตที่สูงใกล้ภูเขาและลำน้ำ ในจังหวัด กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ราชบุรี และลพบุรี
แหล่งโบราณคดียุตหินเก่าได้สำรวจและขุดค้นแล้ว ได้แก่ บริเวณแม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณริมน้ำโขง แถวสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
* ยุคหินกลาง
มีอายุระหว่าง 10,000 - 8000 ปี มีการปรับปรุงหินกะเทาะให้ปราณีตขึ้น เป็นหินกระเทาะขนาดใหญ่ที่กระเทาะเพียงหน้าเดียว แล้วขัดให้เรียบและคมขึ้น นอกจากนี้ยังรู้จักนำเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ทำเครื่องปั้นดินเผา มีทั้งแบบผิวเกลี้ยงขัดมัน และลายเชือกทาบ แสดงให้เห็นว่ายุคนี้รู้จักนำพืชมาฟั่นเป็นเชือกได้ มีกรรมพิธีฝังศพ มนุษย์ยุคนี้ยังคงอยู่ตามถ้ำ เคลื่อย้ายไปเรื่อยๆไม่มีหลักแหล่งแน่นอน มีการจับสัตว์มาเซ่นสังเวยพิธีกรรม
วัฒนธรรมยุคหินกลาง พบที่จังหวัด ราชบุรี ลพบุรี เชียงราย และแม่ห้องสอน แหล่งที่พบ คือ ถำพระอำเภอไทรโยค กาญจนบุรี ถ้ำผี แม่ฮ่องสอน
* ยุคหินใหม่ มีอายุระหว่าง 8000-3000 ปี มนุษย์ในยุคนี้มีระดับความเจริญไม่เท่ากัน พวกที่มาจากชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะ มักใช้หวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พวกที่มาจากตอนเหนือ ใช้ขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมแต่มีบ่า เรียกว่า ผึ่ง มีการขุดพบ หวานสองชนิดอยู่ในที่เดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการสังสรรค์ของคนสองจำพวก ที่มีประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน
มนุษย์ยุคนี้ มีเทคนิคการทำเครื่องมือก้าวหน้าขึ้น ขัดให้เรียบทั้งสองด้าน เช่นขวานหินขัด นอกจากนั้นยังทำของใช้ด้วยกระดูกสัตว์ เช่นเข็มฉมวก ลูกศณ ใบหอก และด้วยเปลือกหอย เช่น ใบมีด รู้จักทำเครื่องจักสาน ทำเครื่องปั้นดินเผา จาน ชาม หม้อสามขา นำหินและเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องประดับ
ในด้านพิธีกรรม หลุมฝังศพเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางเครื่องปั้นไว้เหนือศรีษะ ปลายเท้าและเหนือเข่า นอกจากนั้นยังใส่เครื่องใช้ เครื่องประดับลงในหลุมศพด้วย
ความเจริญในยุคหินใหม่คือ การรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
แหล่งโบราณตดีในยุคหินใหม่ ที่พบ เช่น แม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงลวดลายไม่เหมือนวัฒนธรรมอื่นๆในยุคเดียวกัน
1.2.2
**ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย

ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย มีอายุประมาณ 3000 ปีหรือ 500 ปีก่อน พ.ศ. ถึงประมาณ พ.ศ. 1000 เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก นำโลหะบางชนิดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน เริ่มจากการเอาทองแดงและดีบุก มาหลอมผสมกันเป็นสำริด ทำสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขวาน หอก ลูกศร พร้า เบ็ด กำไลมือ กำไลเท้า กลองมโหระทึก แล้วพัฒนาต่อมา มีความรู้เรื่อถลุงเหล็ก สามารถใช้เหล็กซึ่งแข็งกว่าสำริด มาทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้
ข้อพินิจที่น่าสนใจมีอยู่ว่า เนื่องจากตั้งแต่ยุคหินใหม่ลงมา ดินแดนประเทศไทยเป็นชุมทางที่มีคนหลายพวกหลายเหล่าอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง บางกลุ่มแยกออกมาอยู่โดดเดี่ยว ขณะที่บางกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกประเทศไทย จึงทำให้กลุ่มชนเหล่านี้มีระดับความเจริญทางเทคนิควิทยาไม่เท่ากัน ดังจะเห็นได้ชัดจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า ขณะที่กลุ่มชนในเขตบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ยังอยู่ในยุคหินใหม่นั้น กลุ่มชนที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี ได้พัฒนาเข้าสู่ยุคสำริดแล้ว
บ้านเชียง นับเป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญแห่งหนึ่ง และเชื่อว่าบ้านเชียงน่าจะเป็นวัฒนธรรมสำริดที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนประเทศไทย และการพัฒนาสู่การเป็นชุมนุมชนขนาดใหญ่ นั้นเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภาคอื่นๆ
เมื่อ พ.ศ. 2535 ยูเนสโก มีมติให้บ้านเชียง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ชุมชนยุคโลหะนั้น นอกจากจะมีความรู้ด้านการปลุกข้าวและพืชอื่นๆ เลี้ยงสัตว์พวกวัวควายหมูหมา ใช้ควายไถนา ทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม ทำเครื่องปั้นดินเผาหลายๆอย่าง รู้จักใช้โลหะทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ทำคูน้ำล้อมรอบคันดินที่อยุ่อาศัย ของชุมชน ขุดสระเก็บน้ำ รู้จักเดินเรือในทะเล มีประเพณีพิธีกรรม มีงานศิลปะภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ พบที่ จังหวัดเลย กาฬสินธ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ อุดรธานี ที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก คือ ที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สันิษฐานว่ามีอายุ ระหว่าง 3600-3000 ปี
การศึกษาและการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า ชุมชนยุคโลหะในดินแดนประเทศไทยมีอยู่มากทั้งในพื้นที่ที่ไกลและใกล้กับทะเล แหล่งที่สำคัญ เช่นที่บ้านเริงนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น บ้านเชียงอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดร บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และที่โคกพลับ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ชุมชนที่มีอยู่มากนี้มีหลายกลุ่มหลายภาษา มีการติดต่อสัมพันธ์ทั้งที่อยู่ในดินแดนเดียวกันและที่อยู่ห่างกันออกไป ดังจะเห็นได้จากหลักฐานสำคัญคือ กลอง มโหระทึก ที่พบทั่วไปใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ของประเทศไทยรวมทั้งดินแดนอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลองมโหระทึกมีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมสำริดในเวียดนาม
.ในยุคโลหะตอนปลาย มีชุมชนเมืองกระจายอยู่ในพื้นที่หลายแห่งในประเทศไทยดังนี้
1. บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง
2.บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และลำน้ำสายต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรี
4. บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก(ด้านอ่าวไทย) ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดปัตตานี
ชุมชนเมืองเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สังคมบ้านเมืองที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น ยุคโลหะตอนปลายจึงเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร
เปาโล-สังฆราช - ผู้รับใช้แห่งผู้รับใช้ทั้งหลายของพระเป็นเจ้า
ร่วมกับบรรดาพระปิตาจารย์แห่งสภาสังคายนาเพื่อเป็นที่ระลึกตลอดไป


อารัมภบท

1. พระเป็นเจ้าส่งพระศาสนจักรไปยังชาติต่างๆ "เพื่อให้เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ทุกคนรอด" ดังนั้นเนื่องจากความจำเป็นบังคับที่จะต้องมีลักษณะเป็นสากลและเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สถาปนา(เทียบ มก 16:16) พระศาสนจักรจึงพยายามอย่างเต็มสติกำลังที่จะนำข่าวดีไปประกาศแก่มนุษย์ทุกรูปทุกนาม อันที่จริงพวกอัครธรรมทูตเองซึ่งเป็นรากฐานของพระศาสนจักร ก็ได้ดำเนินรอยตามพระยุคลบาทของพระคริสตเจ้า "ไปประกาศพระวาจาแห่งความจริงและตั้งกลุ่มคริสตชนต่างๆขึ้น" ผู้สืบตำแหน่งต่อจากอัครธรรมทูตมีหน้าที่ต้องดำเนินกิจการนี้ต่อไป เพื่อ "พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้าเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็วและได้รับการยกย่องดังที่เป็นไปในหมู่ท่านแล้ว" (2 ธส 3:1) อีกทั้งอาณาจักรของพระเป็นเจ้าจะได้รักการประกาศและสถาปนาขึ้นทั่วพิภพ

แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งทำให้มนุษย์มีฐานะใหม่ พระศาสนจักรซึ่งเป็นเกลือรักษาแผ่นดินและเป็นความสว่างส่องโลก (เทียบ มธ 5:13-14) ได้รับการเรียกร้องอย่างเร่งด้วยยิ่งขึ้น ให้กอบกู้และฟื้นฟูมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อว่าทุกสิ่งจะได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในพระคริสตเจ้า อีกทั้งมนุษย์ทั้งหลายจะได้รวมกันเข้าเป็นครอบครัวเดียวและประชากรเดียวของพระเป็นเจ้าในพระองค์

ฉะนั้นสภาสังคายนานี้ พร้อมกับที่ขอบพระคุณพระเป็นเจ้า เนื่องในผลงานอันงดงามที่พระศาสนจักทั่วไปได้ประกอบมาด้วยน้ำใจร้อนรนและกว้าวขวาง สภาสังคายนานี้ใคร่จะวางหลักเกณฑ์งานธรรมทูตและผนึกกำลังของสัตบุรุษทุกคนเข้าด้วยกัน เพื่อว่าประชากรของพระเป็นเจ้าซึ่งมุ่งเดินหน้าไปทางประตูคับแคบแห่งกางเขน จะได้ขยายพระราชัยพระคริสตเจ้าซึ่งกวาดสายพระเนตรมองเห็นกาลทุกยุคทุกสมัย (เทียบ บสร 36:19) และจะได้เตรียมทางให้พระองค์เสด็จกลับมา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทที่ 1

หลักคำสอน : แผนการของพระบิดา

2. ขณะที่เดินทางอยู่ในโลกนี้ พระศาสนจักรมีลักษณะเป็นธรรมทูตอยู่ในตัว เพราะถือกำเนิดมาจากภารกิจของพระบุตรและพระจิตตามแผนการของพระบิดา

แผนการนี้สืบเนื่องมากจา "ความรักที่เป็นต้นกำเนิด" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สืบเนืองมาจากความรักของพระบิดา โดยที่พระบิดาเป็นต้นที่ไม่มีต้น พระบุตรจึงเกิดจากพระองค์และพระจิตก็สืบเนื่องมาจากพระองค์ทางพระบุตร พระบิดานั้นได้ทรงสร้างเรามาโดยพระทัยเสรีเพราะพระทัยดี และกรุณาอย่างล้นเหลือ และยังทรงเรียกเรามาให้มีส่วนในชีวิตและพระเกียรติมงคลกับพระองค์ พระองค์ได้ทรงแสดงพระเมตตาต่อเราอย่างพระทัยกว้าง และยังไม่ทรงหยุดยั้งที่จะแสดงเช่นนั้นต่อไป จนพระองค์ซึ่งเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวงในที่สุดก็กลับกลายเป็น "ทุกสิ่งในทุกคน" (1คร 15:28) โดยประทานพระเกียรติของพระองค์ และความสุขของเราให้พร้อมกัน พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยเรียกมนุษย์ทั้งหลายให้มามีส่วนในชีวิตของพระองค์มิใช่เป็นคนๆ โดยไม่เกี่ยวโยงถึงกันและกันเท่านั้น แต่ยังพอพระทัยรวมมนุษย์ทั้งหลายให้เป็นประชากร ซึ่งในประชากรนั้นบรรดาบุตรของพระองค์ที่อยู่กระจัดกระจายกัน จะได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เทียบ ยน 11: 52)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ภารกิจของพระบุตร

3. อันแผนการทั่วไปของพระเป็นเจ้าที่จะช่วยมนุษยชาติให้รอดนี้มิใช่สำเร็จไปโดยวิธีเหมือนอย่างลับๆ ในวิญญาณของมนุษย์ หรือโดยความดำริริเริ่มแม้ที่ศรัทธา ซึ่งอาศัยความดำริริเริ่มที่กล่าวนี้ มนุษย์แสวงหาพระเป็นเจ้าโดยหลายวิธี เพื่อบางที่จะบรรลุถึงและพบพระองค์แม้ว่าพระองค์ไม่อยู่ห่างไกลจากเราแต่ละคน (เทียบ กจ 17:27) เพราะความดำริริเริ่มเหล่านี้ต้องได้รับการแนะนำและดัดแปลง แม้ว่าโดยพระดำริอันเมตตาของพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้า บางครั้งเราอาจจะถือเป็นการมุ่งไปหาพระเจ้าเที่ยงแท้หรือเป็นการเตรียมรับข่าวดีก็ตาม เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อกระชับความร่วมสนิทกับพระองค์ เพื่อตั้งภราดาภาพขึ้นในระหว่างมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาป พระเป็นเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะเจ้ามามีบทบาทในประวิติศาสตร์ของมนุษย์โดยวิธีใหม่และเด็ดขาด โดยทรงใช้พระบุตรของพระองค์มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างเรา เพื่อฉุดเราให้พ้นจากอำนาจของความมืดและของซาตาน (เทียบ คส.1:13,กจ : 10:38) และทำให้โลกคืนดีกับพระองค์ (เทียบ 2 คธ 5:19) โดยพระบุตร พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งมาพระบุตรองค์นี้พระองค์ทรงตั้งให้เป็นทายาทรับทุกสิ่งเพื่อจะได้บูรณะทุกสิ่งขึ้นในพระบุตร (เทียบ อฟ 1:10)

พระเป็นเจ้าทรงส่งพระเยซูคริสตเจ้ามาในโลกนี้เพื่อเป็นองค์กลางอย่างแท้จริงระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ โดยที่พระองค์ทรงเป็นพระเป็นเจ้า พระเทวภาพอย่างเต็มครบถ้วนจึงดำรงอยู่ในพระวรกายของพระองค์ (คส.2:9) ในพระธรรมชาติฝ่ายมนุษย์พระองค์ทรงทรงเป็นอาดัมคนใหม่ รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขของชาติมนุษย์เกิดใหม่ เพียบพร้อมไปด้วยพระหรรษทานและความสัตย์จริง (ยน 1:14) เพราะเหตุนี้ โดยการรับเอากายเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง พระบุตรแห่งพระเจ้าได้เสด็จมาทำให้มนุษย์มีส่วนในพระธรรมชาติของพระเป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงทำตนเป็นคนยากไร้ในเมือพระองค์ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง เพื่อทำให้เราร่ำรวยด้วยความยากแค้นของพระองค์ (2 คร 8:9) บุตรมนุษย์ไม่ได้เสด็จมาให้คนอื่นรับใช้ แต่เพื่อรับใช้คนอื่น และพลีชีพเพื่อไถ่คนเป็นอันมากคือทุกคน (เทียบ มก 10 :45)บรรดาปิตาจารย์แห่งพระศาสนจักรประกาศอยู่เสมอว่า สิ่งใดที่พระคริสตเจ้ายังมิได้ทรงรับเอาไว้ สิ่งนั้นก็ยังไม่หายดีเป็นปกติ อันว่าพระองค์ทรงรับเอาธรรมชาติมนุษย์อย่างแท้จริง อย่างที่มีอยู่ในตัวเราซึ่งเป็นผู้น่าสมเพช และยากแค้นแต่ทว่าธรรมชาติมนุษย์ในตัวพระองค์หามีบาปไม่ (เทียบ ฮบ 4:15;9:28) พระคริสตเจ้าซึ่งพระบิดาทรงอภิเษกและส่งมาในโลกนี้ (เทียบ ยน 10:36) ได้ตรัสถึงพระองค์เองว่า "พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ" (ลก 4:18) และยังตรัสอีกว่า "บุตรแห่งมนุษย์มาเพื่อแสวงหาและเพื่อช่วยผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น (ลก 19:10)

สิ่งใดที่ครั้งหนึ่งพระคริสตเจ้าทรงประกาศเทศนา หรือกระทำในตัวพระองค์เพื่อความรอดของมนุษยชาติ สิ่งนั้นจึงต้องประกาศและแพร่ไปจนสุดแดนพิภพ (กจ 1:8) โดยเริ่มจากกรุงเยรูซาแลม (เทียบ ลก 24:47) ดังนี้สิ่งที่ครั้งหนึ่งได้กระทำเพื่อความรอดของทุกคนจะบังเกิดผลสำหรับทุกคน ตลอดเวลาทุกยุกสมัย