วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไทยศึกษา ปี 1

ไทยศึกษา หน่วยที่1

สังคม..เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน ไม่ว่าจะในด้านใด เช่นประเทศจังหวัดและอื่นๆ
วัฒนธรรม..โดยทั่วไปหมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์ และโครงสร้าง เชิง สัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรม และสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น..ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

เทคโนโลยี่..วิชาการประยุกต์ อาศัยการได้รับความรู้จากสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาการความรู้นั้นมาใช้กับธรรมชาติที่มีอยู่เดิมให้สภาพดีกว่าเดิม อันเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิต
.....นอกจากคำว่าวัฒนธรรมแล้ว ในทางมนุษย์ศาตร์ยังมีคำว่า อารยธรรม ซึ่งมีความหมายสองนัย นัยหนึ่งใช้ในความหมายเดียวกับ วัฒนธรรม อีกนัยหนึ่ง หมายถึง พัฒนาการของสังคมในอดีตที่เจริญที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในยุคเดียวกัน ในแง่ประวัติศาตร์ มักใช้คำว่า อารยธรรม เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมที่มีความเจริญสูง และส่งอิทธิพล ต่อวัฒนธรรมอื่นๆ เช่นอารยธรรมจีน อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมกรีก อารยธรรมโรมันเป็นต้น....

* ผลเสียที่เกิดจากสภาพทำเลที่ตั้งของประเทศไทย และเห็นเด่นชัดในปัจจุบัน ....
สมัยโบราณไม่เน้นเส้นกั้นเขตแดน จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ มีเฉพาะปัญหาการถูกรุกรานได้ง่าย แต่ในปัจจุบันจะเห็นเด่นชัดว่า ได้ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเส้นกั้นเขตแดนกับเพื่อนบ้าน และต้องสิ้นเปลืองกำลัง รวมทั้งงบประมาณในการดูแลป้องกันรักาแนวพรมแดน..
****สภาพภูมิศาตร์ของดินแดนไทยก่อผลใดต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย
..... สภาพภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการพัฒนาการทางประวัติศาตร์ ของมนุษย์ชาติ ในแต่ละภูมิภาคของโลก
* ในกรณีประเทศไทย นั้นทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของผืนแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีดินแดนทางด้านตอนเหนือตอนกลาง และทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นส่วนใหญ่เป็นเขตของแผ่นดินใหญ่ ติดต่อกับเพื่อนบ้านได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนดินแดนทางภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลึกลงไปในทะเล สามารถติดต่อกับ มาเลียเซีย สิงค์โปร์ และหมู่เกาะอินโดนีเซีย นอกจากนั้นแล้ว ทั้งดินแดนตอนกลางและตอนใต้ ยังเป็นบริเวณที่ติดต่อกับทะเล ใด้ ทั้งทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิค โดยผ่านอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และด้านมหาสมุทรอินเดีย โดยผ่านชายฝั่งทะเลตะวันตก...ทำเลที่ตั้งเช่นนี้ ในแง่ภูมิศาตร์การเมืองมีทั้งผลดีและผลเสีย
...ผลดี ทำให้สามารถติดต่อกับดินแดนอื่นๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้สะดวก สามารถใช้ประโยชน์จากทะเล ทั้งการคมนาคมขนส่ง และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลได้
....ผลเสีย เรื่องการดูแลเขตแดน..

***1.1.3***
วัฒนธรรมของสังคม ย่อมมีวิถีการพัฒนาไปตามปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกันออกไป บางวัฒนธรรมอาจวิวัฒน์ไปช้าๆเรียบง่าย เช่นวัฒนธรรมของพวกชาวเขา ในขณะที่บางวัฒนธรรมอาจพัฒนาไปรวดเร็วและมีความซับซ้อน เช่นร วัฒนธรรมของพวกชาวเมืองในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก แต่โดยรวมแล้วต่างมีวิวัฒนาการยาวนาน และมีขั้นตอนเป็นลำดับคล้ายกัน อนึ่ง วัฒนธรรมที่วิวัฒน์ช้าๆนั้น จะมาถึงตอนเป็นชุมชน แล้วมิได้ขยายต่อเป็นเมือง จึงมีสภาพเป็นวัฒนธรรมชุมชน วัฒนธรรมมีขั้นตอนของการวิวัฒน์ดังนี้
-------การตั้งถิ่นฐาน ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 3 ประการ
* อาหารเพียงพอ
* ความปลอดภัย
* การคมนาคมที่สะดวก
สภาพภูมิศาสตร์มีความสำคัญมาก
การตั้งถิ่นฐาน
* มีภาษาพูดกันแล้ว
* จากสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล ความเชื่อสิ่งลึกลับ ผีสางเทวดา พิธีกรรมต่างๆ
เมื่อความเป็นอยูดีขึ้นจึงมีการคิดค้น เทคโนโลยี่ เช่น
* การเพราะปลูกพืชหลายอย่าง
*การชลประทาน
* การทอผ้า
* การสร้างบ้านบนเสาสูง
เมื่อชุมชนขยายใหญ่จนเป็นเมือง
* มีการจัดระเบียบการปกครอง มีหัวหน้า มีกษัตริย์
* มีการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
*มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาษาเขียน (เข้าสู่สมัยประวัติศาตร์)
1.2
**จากยุคหินสู่สมัยประวัติศาสตร์
* ยุคหินในดินแดนประเทศไทย
* ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย
* การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์

1.2.1***(ยุคหินในดินแดนประเทศไทย)
* หินเก่า อายุ ประมาณ 500,00 ปี หรือ 200,00- 10,000 ปี
สร้างเครื่องมือหินกรวด แบบกระทะหน้าเดียว แบบสับตัดและมีขนาดใหญ่ อาศัยตามถ้ำ เพิงผา ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ เก็บผลไม้ เร่ร่อนไปเรื่อยเมื่ออาหารหมด
วัฒนธรรมหินเก่า พบในเขตที่สูงใกล้ภูเขาและลำน้ำ ในจังหวัด กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ราชบุรี และลพบุรี
แหล่งโบราณคดียุตหินเก่าได้สำรวจและขุดค้นแล้ว ได้แก่ บริเวณแม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณริมน้ำโขง แถวสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
* ยุคหินกลาง
มีอายุระหว่าง 10,000 - 8000 ปี มีการปรับปรุงหินกะเทาะให้ปราณีตขึ้น เป็นหินกระเทาะขนาดใหญ่ที่กระเทาะเพียงหน้าเดียว แล้วขัดให้เรียบและคมขึ้น นอกจากนี้ยังรู้จักนำเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ทำเครื่องปั้นดินเผา มีทั้งแบบผิวเกลี้ยงขัดมัน และลายเชือกทาบ แสดงให้เห็นว่ายุคนี้รู้จักนำพืชมาฟั่นเป็นเชือกได้ มีกรรมพิธีฝังศพ มนุษย์ยุคนี้ยังคงอยู่ตามถ้ำ เคลื่อย้ายไปเรื่อยๆไม่มีหลักแหล่งแน่นอน มีการจับสัตว์มาเซ่นสังเวยพิธีกรรม
วัฒนธรรมยุคหินกลาง พบที่จังหวัด ราชบุรี ลพบุรี เชียงราย และแม่ห้องสอน แหล่งที่พบ คือ ถำพระอำเภอไทรโยค กาญจนบุรี ถ้ำผี แม่ฮ่องสอน
* ยุคหินใหม่ มีอายุระหว่าง 8000-3000 ปี มนุษย์ในยุคนี้มีระดับความเจริญไม่เท่ากัน พวกที่มาจากชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะ มักใช้หวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พวกที่มาจากตอนเหนือ ใช้ขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมแต่มีบ่า เรียกว่า ผึ่ง มีการขุดพบ หวานสองชนิดอยู่ในที่เดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการสังสรรค์ของคนสองจำพวก ที่มีประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน
มนุษย์ยุคนี้ มีเทคนิคการทำเครื่องมือก้าวหน้าขึ้น ขัดให้เรียบทั้งสองด้าน เช่นขวานหินขัด นอกจากนั้นยังทำของใช้ด้วยกระดูกสัตว์ เช่นเข็มฉมวก ลูกศณ ใบหอก และด้วยเปลือกหอย เช่น ใบมีด รู้จักทำเครื่องจักสาน ทำเครื่องปั้นดินเผา จาน ชาม หม้อสามขา นำหินและเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องประดับ
ในด้านพิธีกรรม หลุมฝังศพเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางเครื่องปั้นไว้เหนือศรีษะ ปลายเท้าและเหนือเข่า นอกจากนั้นยังใส่เครื่องใช้ เครื่องประดับลงในหลุมศพด้วย
ความเจริญในยุคหินใหม่คือ การรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
แหล่งโบราณตดีในยุคหินใหม่ ที่พบ เช่น แม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงลวดลายไม่เหมือนวัฒนธรรมอื่นๆในยุคเดียวกัน
1.2.2
**ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย

ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย มีอายุประมาณ 3000 ปีหรือ 500 ปีก่อน พ.ศ. ถึงประมาณ พ.ศ. 1000 เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก นำโลหะบางชนิดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน เริ่มจากการเอาทองแดงและดีบุก มาหลอมผสมกันเป็นสำริด ทำสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขวาน หอก ลูกศร พร้า เบ็ด กำไลมือ กำไลเท้า กลองมโหระทึก แล้วพัฒนาต่อมา มีความรู้เรื่อถลุงเหล็ก สามารถใช้เหล็กซึ่งแข็งกว่าสำริด มาทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้
ข้อพินิจที่น่าสนใจมีอยู่ว่า เนื่องจากตั้งแต่ยุคหินใหม่ลงมา ดินแดนประเทศไทยเป็นชุมทางที่มีคนหลายพวกหลายเหล่าอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง บางกลุ่มแยกออกมาอยู่โดดเดี่ยว ขณะที่บางกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกประเทศไทย จึงทำให้กลุ่มชนเหล่านี้มีระดับความเจริญทางเทคนิควิทยาไม่เท่ากัน ดังจะเห็นได้ชัดจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า ขณะที่กลุ่มชนในเขตบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ยังอยู่ในยุคหินใหม่นั้น กลุ่มชนที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี ได้พัฒนาเข้าสู่ยุคสำริดแล้ว
บ้านเชียง นับเป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญแห่งหนึ่ง และเชื่อว่าบ้านเชียงน่าจะเป็นวัฒนธรรมสำริดที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนประเทศไทย และการพัฒนาสู่การเป็นชุมนุมชนขนาดใหญ่ นั้นเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภาคอื่นๆ
เมื่อ พ.ศ. 2535 ยูเนสโก มีมติให้บ้านเชียง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ชุมชนยุคโลหะนั้น นอกจากจะมีความรู้ด้านการปลุกข้าวและพืชอื่นๆ เลี้ยงสัตว์พวกวัวควายหมูหมา ใช้ควายไถนา ทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม ทำเครื่องปั้นดินเผาหลายๆอย่าง รู้จักใช้โลหะทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ทำคูน้ำล้อมรอบคันดินที่อยุ่อาศัย ของชุมชน ขุดสระเก็บน้ำ รู้จักเดินเรือในทะเล มีประเพณีพิธีกรรม มีงานศิลปะภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ พบที่ จังหวัดเลย กาฬสินธ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ อุดรธานี ที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก คือ ที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สันิษฐานว่ามีอายุ ระหว่าง 3600-3000 ปี
การศึกษาและการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า ชุมชนยุคโลหะในดินแดนประเทศไทยมีอยู่มากทั้งในพื้นที่ที่ไกลและใกล้กับทะเล แหล่งที่สำคัญ เช่นที่บ้านเริงนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น บ้านเชียงอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดร บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และที่โคกพลับ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ชุมชนที่มีอยู่มากนี้มีหลายกลุ่มหลายภาษา มีการติดต่อสัมพันธ์ทั้งที่อยู่ในดินแดนเดียวกันและที่อยู่ห่างกันออกไป ดังจะเห็นได้จากหลักฐานสำคัญคือ กลอง มโหระทึก ที่พบทั่วไปใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ของประเทศไทยรวมทั้งดินแดนอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลองมโหระทึกมีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมสำริดในเวียดนาม
.ในยุคโลหะตอนปลาย มีชุมชนเมืองกระจายอยู่ในพื้นที่หลายแห่งในประเทศไทยดังนี้
1. บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง
2.บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และลำน้ำสายต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรี
4. บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก(ด้านอ่าวไทย) ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดปัตตานี
ชุมชนเมืองเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สังคมบ้านเมืองที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น ยุคโลหะตอนปลายจึงเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปรัชญาเบื้องต้นบทที่3

ปรัชญาเบื้องต้นบทที่2

บทที่ 2ประเภทและสาขาของปรัชญา
1. ประเภทของปรัชญาโดยทั่วไป
มีการแบ่งปรัชญาออกเป็นสองประเภท คือ
ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure philosophy)
กับปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy) (Mariano, 1990)
1.1 ปรัชญาบริสุทธิ์หมายถึง การศึกษาปรัชญาที่เป็นเนื้อหาสาระของปรัชญาโดยตรง
ไม่ใช่ศึกษาเพื่อการอื่น ๆ ทั้งนี้ โลกตะวันตกแบ่งปรัชญาออกเป็นสามสาขาใหญ่ ๆ
(ยึดเนื้อหา/ปัญหาพื้นฐาน เป็นหลัก) โดยการมุ่งตอบปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
(ในขณะที่ ปรัชญาตะวันออก ไม่มีการแบ่งย่อย) ได้แก่
1.1.1 อภิปรัชญา (Metaphysics) อะไรคือความจริง?
1.1.2 ญาณวิทยา (Espistemology) เรารู้ความจริงได้อย่างไร?
1.1.3 คุณวิทยา/อัคฆวิทยา (Axiology) ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า
โดยแยกได้สองประเภท คือ
ก. จริยศาสตร์ (เอาอะไรมาตัดสินการกระทำว่าดีหรือไม่)
ข. สุนทรียศาสตร์ (เอาอะไรมาตัดสินความงาม)
มีการศึกษาโดยแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ ขึ้นกับว่าในยุคสมัยนั้น ๆ “ประเด็นร้อน”
หรือความสนใจของประชาชนในสมัยนั้น
อยู่ที่ปัญหาเรื่องอะไร? (ความจริง ความรู้ คุณค่า)

ดังนั้น จึงต้องศึกษาประวัติความคิดของนักปรัชญาเพื่อศึกษา
“คำตอบที่เป็นไปได้ตามหลักเหตุผล” ของแต่ละยุคสมัย (วิทย์ วิศวเวทย์, 2538)
1.2 ปรัชญาประยุกต์ หมายถึงการนำปรัชญาบริสุทธิ์ไปประยุกต์ใช้ตอบปัญหา
โดยยึดการตอบสนองความปรารถนาที่จะรู้ของมนุษย์
ที่ปรารถนารู้ “หลักการ” เพื่อนำไปปฏิบัติ หรือปรารถนาที่จะรู้ “พื้นฐาน”
เพื่อนำไปเป็นแนวทางตอบปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ได้แก่
ก. ปรัชญาศาสนา
ข. ปรัชญาสังคมการเมือง
ค. ปรัชญาวิทยาศาสตร์
ง. ปรัชญาการศึกษา
จ. ปรัชญาวิทยาศาสตร์
ฉ. ปรัชญากฎหมาย (นิติปรัชญา)
ช. เป็นต้น
2. สาขาของปรัชญาตามแนวปรัชญาตะวันตก แบ่งปรัชญาบริสุทธิ์ได้สามสาขา
ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา (อัคฆวิทยา) (สมัคร บุราวาศ, 2544)
2.1. อภิปรัชญา
2.1.1 ความหมายของ “อภิปรัชญา”
ถ้าปรัชญาเป็น “ศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย”
อภิปรัชญาก็เปรียบเสมือนพื้นฐาน/หัวใจของปรัชญาทั้งหลาย
(Aristotle เรียกอภิปรัชญาว่า Fist Philosophy)
เนื่องจาก (Mariano, 1990)
ก. สิ่งที่ “อภิปรัชญา” สนใจคือ Being คืออะไร
ในแง่ของความเป็นจริง(Reality) ไม่ใช่แค่ข้อเท็จจริง (Fact)
(จึงมีการใช้คำว่า Meta-physic) ปรัชญาเป็น การสนใจศึกษาความจริงทั้งหมด (All reality)
เนื่องจากทุกสิ่งต่างมีอยู่จริง (That is)
และสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มีอยู่เหนือขอบเขตของข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (Beyond physics)
หรือการศึกษาธรรมชาติ/ลักษณะของสิ่งที่มีอยู่ หรือความมีอยู่ (Existence)
เราจึงเรียกอภิปรัชญาได้ว่า “ภววิทยา” (Ontology) 1)
สิ่งที่มีอยู่ (Being) ต้องมีอยู่ (Existence) ตาม ลักษณะ/รูปแบบ (Essence) ของสิ่งนั้น
ยกเว้นพระเจ้า ทรงมีอยู่ แต่ไม่มีรูปแบบ เพราะถ้าพระเจ้ามี รูปแบบ/ลักษณะของพระเจ้า
พระเจ้าก็ไม่ใช่พระเจ้า เพราะจะทำให้พระเจ้าถูก กำหนดที่จะต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง/รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ดังนั้น พระเจ้าจึงมีแต่ความมีอยู่ แต่ไม่มีสารัตถะของพระเจ้า อภิปรัชญาจึงศึกษาพระเจ้าในฐานะสาเหตุแรกของสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่)
2) ดังนั้น เนื้อหาของอภิปรัชญาจึงมี สองมิติ/ด้าน กล่าวคือ
2.1) ด้านที่เหมือนกับปรัชญาแขนงอื่น ๆ (ญาณวิทยาและคุณวิทยา) ในฐานะที่ศึกษาความจริงทั้งหมดที่เป็นอยู่
2.2) ด้านพิเศษ เช่น กรณีของพระเจ้า (Being แบบพิเศษ... ดังที่อธิบายในข้อที่ 1)
ข. อภิปรัชญาทำให้ปรัชญาทั้งหลายเป็น “เอกภาพ” เนื่องจากการอธิบายความจริงตามแนวปรัชญามีหลายคำตอบ
แต่อภิปรัชญาเป็นการศึกษา “ความจริงคืออะไร?” แม้คำตอบมีหลากหลาย แต่คำตอบเหล่านั้น มี “ปัญหา/โจทย์เดียวกัน
ค. อภิปรัชญาเป็นศาสตร์แห่งภวันต์ (Being) ในฐานะที่เป็นอย่างนั้น
กล่าวคือ ปรัชญาศึกษาภวันต์ในฐานะเป็นภวันต์ (Being as being)
ไม่ใช่ศึกษาภวันต์ในฐานะเป็น/เพื่อสิ่งอื่น (Being as/for other)
กล่าวคือ ในขณะที่ศาสตร์แต่ละศาสตร์ศึกษา ลักษณะที่แตกต่างของความเป็นจริง
เช่น พฤษศาสตร์ ธรณีวิทยา ฯลฯ หรือสนใจลักษณะที่แน่นอนร่วมกันของความเป็นจริง
เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกข์ ฯลฯ แต่อภิปรัชญาศึกษา ความเป็นจริงที่เป็นจริง ๆ
ที่ไม่ใช่แค่เปลือกนอก (ปริมาณภายนอกตาม “ข้อเท็จจริง” ที่ปรากฏ)
แต่ปรัชญาสนใจความเป็นจริงที่เป็นจริง ๆ ที่ทำให้สิ่งนั้นเป็น (To Be)
ดังนั้น อภิปรัชญา จึงเป็นการศึกษา ภวันต์/ภาวะ สนใจ “ความหมาย”
องค์ประกอบหรือหลักการของสรรพสิ่ง (ที่ทำให้สิ่งนั้นเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่)
2.1.2 ชนิดของอภิปรัชญาแบ่งออกได้สองชนิด ได้แก่
ก. อภิปรัชญาเกี่ยวกับสิ่งมีอยู่ทั่วไป
1) คือ การศึกษาภวันต์ (สิ่งนั้น) (Dantonel, 2004)
ในฐานะเป็นภวันต์ (สิ่งนั้น) (Being as being ) หรือศึกษาลักษณะ
และองค์ประกอบของภวันต์ ของสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่
2) หลักการของภวันต์ (ยกเว้น “พระเจ้า”) ได้แก่
2.1) ภวันต์ (Being) = อัตถิภาวะ (Existence) +สารัตถะ (Essence)= สิ่งที่มีอยู่
ต้องมีอยู่ตามรูปแบบ/สารัตถะของมัน เช่น มนุษย์มีอยู่ในฐานะที่เป็นมนุษย์
2.2) ภวันต์ (Being) = สาระ (Substance) + คุณา (Accidents) = สิ่งที่มีอยู่
ต้องประกอบด้วยแก่นแท้ (สาระของสิ่งนั้น) และส่วนประกอบของสิ่งนั้น
เช่น มนุษย์ประกอบด้วยความเป็นมนุษย์และรูปร่างหน้าตาภายนอก
2.3) ภวันต์ (Being) = ภาวะจริง (Act) + ภาวะแฝง (Potency)= สิ่งที่มีอยู่
ต้องมีทั้งสภาพที่เป็นอยู่และมีสภาวะแฝง (ศักยภาพ) ที่จะเป็นได้ในบริบทของสิ่งนั้น
เช่น นาย ก. ขณะนี้เป็นนักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรม สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ชั้นปีที่ 1 (Act)
แต่เขามีสภาวะแฝงที่จะเป็นบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
2.4) ภวันต์ (Being) = สสาร (Matter) + รูปแบบ (Form)= สิ่งที่มีอยู่
ต้องมีทั้งส่วนที่เป็นวัตถุสสารและมีรูปแบบของสิ่งนั้น เช่น มนุษย์ ต้องมีทั้งส่วนที่เป็นร่างกายและวิญญาณ เป็นต้น
3) ที่สุด อภิปรัชญาสรุปพื้นฐานภวันต์ได้ 3 อย่างคือ “ความจริง” “ความดี” และ “ความงาม”
(สิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง + ดี + งาม) (สมัคร บุราวาศ, 2544)
ข. อภิปรัชญาเชิงเทววิทยา
1) คือ การศึกษาพระเจ้า ในฐานะสิ่งที่มีอยู่จริง ๆ และเป็นสาเหตุแรกของสิ่งต่าง ๆ
(หรือเรียกว่าเทววิทยาธรรมชาติ /Natural Theology
หรือภาวะที่เกินขอบเขตโลกแห่งผัสสะ/Transcendent) (Mariano, 1990)
2) จากการศึกษาสิ่งมีอยู่ที่เป็นสิ่งทั่วไป ที่มีความจำกัด
ทำให้เข้าใจว่าน่าจะมี “ภาวะที่มีอยู่ที่ไม่เป็นสิ่งจำกัด” ในฐานะเป็นความสมบูรณ์
และเป็นสิ่งที่ไม่ถูกจำกัด ซึ่งเป็นหลักการและพื้นฐานของสรรพสิ่ง (ความเป็นจริงสูงสุด/พระเจ้า)
ดังนั้น ในบางแง่มุมของอภิปรัชญา จึงมีการเรียกอภิปรัชญาว่าเทววิทยาก็ได้
ซึ่งมุ่งสู่การศึกษา อุตรภาพ (Transcendence, ภาวะที่เกินขอบเขตโลกแห่งประสบการณ์ระดับประสาทสัมผัส)
2.1.3 คำตอบจากอภิปรัชญาจากประวัติปรัชญา
เราสามารถแบ่งคำตอบเกี่ยวกับคำถามเชิงอภิปรัชญา กว้าง ๆ ได้ 3 แนว กล่าวคือ
ก. ภาวะ (สิ่ง) ที่มีอยู่ มีลักษณะเป็น จิต (จิตนิยม)
ข. ภาวะ (สิ่ง) ที่มีอยู่ มีลักษณะเป็น สสาร (สสารนิยม)
ค. ภาวะ (สิ่ง) ที่มีอยู่ มีลักษณะเป็น จิตและสสาร (ทวินิยม)
2.2 ญาณวิทยา
2.2.1 ความหมายและที่มาของญาณวิทยาญาณวิทยา (Epistemology)
หมายถึง การศึกษาปัญหาเรื่องความรู้ พยายามตั้งและตอบคำถามว่า “รู้ความจริงได้อย่างไร?”
นำเสนอด้วยทฤษฏีความรู้ โดยก่อนหน้านี้ แฝงตัวอยู่ในอภิปรัชญา
(แต่เดิม เนื้อหาของอภิปรัชญา จะครอบคลุมถึงการรู้ (ทฤษฏีความรู้) ความจริงด้วย)
การแยกตัวและพัฒนาอย่างชัดเจนของวิธีการได้ความรู้ของวิทยาศาสตร์ ทำให้ทฤษฏีความรู้ (ญาณวิทยา)
แยกแขนงจากอภิปรัชญา เพื่อหาหลักการเกี่ยวกับวิธีการรู้ความจริงของปรัชญาว่าเป็นอย่างไร (กีรติ บุญเจือ, 2522)
2.2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอภิปรัชญาและญาณวิทยาญาณวิทยามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอภิปรัชญา
ในฐานะที่เป็นส่วนที่ต่อยอดมาจากพื้นฐานที่อภิปรัชญาวางเอาไว้ (ปัญหาเรื่องความเป็นจริง ...ความเป็นจริงคืออะไร)
ผลที่ตามมาคือ มนุษย์รู้ความจริงได้อย่างไร เอาอะไรมาตัดสินว่าสิ่งที่มนุษย์รู้นั้น
เป็นความจริงหรือไม่ (Mariano, 1990)ญาณวิทยา อภิปรัชญา
2.2.3 ปัญหา/โจทย์ของญาณวิทยาคือ การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ว่า “อะไรเป็นมาตรการของความจริง?
เอาอะไรมาวัดว่านี่คือความจริง?”แบ่งกว้าง ๆ ได้ 3 ประเด็น
(หลักการแสวงหา หลักการแยกแยะ และหลักการตรวจสอบความรู้)
ได้แก่ (Mariano, 1990)
ก. Epistemology หมายถึง หลักในการแสวงหาความรู้ที่ตรงกับความจริงว่าสิ่งที่เรารู้
เป็นความรู้ที่ถูกต้อง/สอดคล้องกับความเป็นจริง (หลักการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้อง)
ข. Criteriology หมายถึง หลักการแสวงหามาตรการและหลักที่แยกความจริงจากความเท็จ (หลักการแยกแยะความจริง)
ค. Gnoseology หมายถึง หลักการตรวจสอบว่าความรู้นั้น สอดคล้องตรงกับความเป็นจริง
ทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่เรารู้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องกับความเป็นจริง (หลักการตรวจสอบความรู้)
2.2.4 เนื้อหา/เป้าหมายของญาณวิทยามีหลักการสำคัญ คือ
ก. ความจริงเป็นสิ่งที่เรารู้ได้ นำสู่โจทย์ที่ว่า “รู้ได้อย่างไร?”
และเอาอะไรมาตัดสิน/พิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นความรู้ ไ
ม่ใช่เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นเท่านั้น (Knowledge # Opinion)
ข. ความรู้ ที่สอดคล้องกับ “ความเป็นจริง” มีลักษณะเป็น (สิ่ง) สากล ซึ่ง1)
ไม่ใช่แค่ผลจากขบวนการทางฟิสกข์หรือจักรกล ที่สนใจเฉพาะสิ่งที่ปรากฎ/พิสูจน์ได้ด้วยการทดลองค้นคว้าระดับประสาทสัมผัส
2) ไม่ใช่แค่ “ความรู้สึก” จากประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่เป็น “ความรู้สำนึก”
ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ ที่รู้ถึงสิ่งต่าง ๆ (รู้ถึงสิ่งนั้นในฐานะที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งนั้น)
ไม่ใช่ยึดตัวผู้รู้เป็นเกณฑ์ (รู้เฉพาะสิ่งที่เราอยากรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น เพื่อจะเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อตัวเอง แบบวิทยาศาสตร์)
3) แต่เป็นความรู้ใน (สิ่ง) สากล ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
2.2.5 ปัญหาของญาณวิทยาคือ การศึกษาเรื่องความจริงกับความเท็จญาณวิทยาพยายามศึกษาว่าอะไรเป็นความจริง
อะไรเป็นความเท็จ รวมทั้งเรื่องปัญหา/อุปสรรคที่ทำให้เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับความจริง
ก. ความจริงและความเท็จ : Truth and False1)
ความจริง คือ ลักษณะที่ตรงกันของความคิด (มโนภาพ)
กับสิ่งนั้น (เช่น นี่คือโต๊ะ และสิ่งนั้นเป็นโต๊ะจริง ๆ ไม่ใช่เก้าอี้ หรือตุ๊กตาโดเรมอน)
เป็นความสัมพันธ์/สอดคล้องระหว่างความเข้าใจต่อสิ่งนั้น ที่สอดคล้องกับภาวะที่สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
(เช่น นาย ข. มีความเข้าใจว่า คน ๆ นั้น คือ นาย ก. และในความเป็นจริง คน ๆ นั้นเป็นนาย ก. จริงๆ )
ดังนั้น ความจริงจึงเป็นความรู้เข้าใจ (ที่มีต่อสิ่งนั้น) ที่ตรงกับความเป็นจริงที่สิ่งนั้นเป็นจริง ๆ)
2) ความเท็จ คือ ลักษณะที่ไม่ตรงกันระหว่างความคิดเข้าใจ (มโนภาพของสิ่งนั้น)
กับสิ่งนั้น (เช่น นาย ข. มีความเข้าใจว่า คน ๆ นั้น คือ นาย ก. แต่ในความเป็นจริง คน ๆ นั้น คือ นาย ค. ไม่ใช่ นาย ก.)
ข. การพิสูจน์ความรู้/ความจริง : Evidence and Certitudeการพิสูจน์ความจริงขึ้นกับหลักการสองอย่าง
ได้แก่ (Mariano, 1990)1) หลักฐาน/ข้อมูลของความจริง (Evidence)
กล่าวคือ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งนั้นและมีสิ่ง/สถานการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจริง
ตัวอย่างเช่น มีการกล่าวว่า “นาย ก. เป็นนักศึกษาชั้นปรัชญาและศาสนา ปีที่ 1 วิทยาลัยแสงธรรม”
การกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ พิจารณาจากหลักฐาน (ความชัดเจน + สิ่งที่เกิดขึ้นจริง)
(ในกรณีการกล่าวว่า นาย ก. เป็นนักศึกษาสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยแสงธรรม)
ต้องดูหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.1) หลักฐานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (Fact/event)
หมายถึง การพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
1.2) หลักฐานตามหลักการ หมายถึง การพิจารณาความจริงที่เป็นจริงๆ ของสิ่ง/สถานการณ์นั้นๆ )
2) การตัดสินความจริง (Certitude)
หมายถึง การตัดสินหลังจากที่เราได้ศึกษาหลักฐาน/ข้อมูลของความจริง (Evidence)
ซึ่งไม่ใช่ความคิดเห็น ไม่ใช่ความเชื่อหรือทัศนคติ
แต่เป็นการยืนยันหรือปฏิเสธในสิ่งที่เราเข้าใจกับหลักฐานที่เราได้พบเห็น
2.2.6 คำตอบจากญาณวิทยาสืบเนื่องจากคำตอบที่ได้จากอภิปรัชญา
ทำให้ญาณวิทยาได้คำตอบเป็นสามแนวกว้างๆ เช่นกัน
คือ จิตนิยม สสารนิยมและทวินิยม (วิทย์ วิศวเวทย์, 2538) กล่าวคือ
ก. เหตุผลนิยม มีแนวคิดว่า ในเมื่อความเป็นจริงคือจิต (วิญญาณ)
ดังนั้น การรู้ความจริง ซึ่งมีลักษณะสากล ต้องรู้อาศัยจิต (วิญญาณ)
ด้วยการหยั่งรู้ การระลึกได้ และใช้วิธีการแบบนิรนัย (พิจารณาจากข้อมูลทั้งหมด สรุปเป็นหลักการเกี่ยวกับสิ่งนั้น)
ข. ประสบการณ์นิยม มีแนวคิดว่า ในเมื่อความเป็นจริงเป็นวัตถุ/สสาร
ดังนั้น การรู้ความจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส (ผัสสะ)
และใช้วิธีการอุปนัย (การค้นคว้าทดลองระดับประสาทสัมผัสบางส่วน
และนำไปสรุปว่าทั้งหมดในประเภทเดียวกันจะต้องเป็นอย่างนั้น เป็นพื้นฐานและที่มาของวิธีการทางวิทยาศาสตร์)
ค. ทวินิยม แนวคิดที่ห็นว่า การรู้ความจริง ควรพิจารณาความจริงเป็น สองระดับ คือ สิ่งที่เป็นจริง ๆ กับสิ่งที่ปรากฏ
2.3 คุณวิทยา/อัคฆวิทยา (Axiology)
2.3.1 ความหมายคุณวิทยา/อัคฆวิทยาหมายถึง การศึกษาเรื่องคุณค่า (กีรติ บุญเจือ, 2522)
ซึ่งแยกได้สองประเภท คือ ความดี (จริยะ/จริยศาสตร์) และความงาม (สุนทรียะ/สุนทรียศาสตร์) (Mariano, 1990)
2.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยาอภิปรัชญา
เป็นพื้นฐานนำสู่ญาณวิทยาและคุณวิทยา กล่าวคือญาณวิทยา คุณวิทยา (จริยศาสตร์ + สุนทรียศาสตร์)
อภิปรัชญาเมื่อเราสรุปพื้นฐานของสิ่งที่มีอยู่/ภวันต์ (Being) และนำเสนอได้สามอย่าง
กล่าวคือ สิ่งที่มีอยู่ (Being) เป็น ความจริง (สิ่งที่มีอยู่ เป็นความจริง)
ความดี (สิ่งที่มีอยู่ เป็นความดี) และความงาม (สิ่งที่มีอยู่ เป็นความงาม)
เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ของอภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยา (จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์)
ว่าแต่ละส่วนต่างรับผิดชอบที่จะอธิบายความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่
ดังนี้ปัญหาเกี่ยวกับความจริง (ความหมาย/ความรู้) = อภิปรัชญา/ญาณวิทยาปัญหาเกี่ยวกับความดี
= จริยศาสตร์ปัญหาเกี่ยวกับความงาม = สุนทรียศาสตร์
2.3.3 ประเภทของคุณวิทยา/อัคฆวิทยาแบ่งได้สองประเภท คือ
ก. จริยศาสตร์ (Moral Philosophy/Ethics)
1) ความหมายจริยศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ทำอย่างไรจึงบรรลุความจริง (ความดี) มีหลักเกณฑ์อะไรที่เป็นแนวทางสู่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไปสู่ความจริงได้ (Human Act)
เราควรแสวงหาอะไรในชีวิต จุดหมายชีวิตคืออะไร พูดง่ายๆ คือ ทำอย่างไรจึงมุ่งความเป็นจริงนั้น
2) เนื้อหาของจริยศาสตร์คือ ศึกษาการกระทำของมนุษย์จากมิติด้านศีลธรรม
ว่าการกระทำนั้นๆ ทำให้สามารถบรรลุถึงจุดหมายของชีวิต (ความเป็นจริง)
ได้หรือไม่ โจทย์คือ อะไรเป็นคุณค่าของความประพฤติ ซึ่งแยกประเภท ได้แก่
2.1) อะไรเป็นการกระทำเฉพาะของ/อย่างที่มนุษย์พึงกระทำ (Human Acts)
2.2) ความสัมพันธ์ของการกระทำเฉพาะของ/อย่างที่มนุษย์พึงกระทำ (Human Acts)
ว่าสามารถบรรลุถึงความเป็นจริง/เป้าหมายได้หรือไม่
2.3) เป้าหมายสุดท้ายของการทำแบบมนุษย์ (การกระทำเฉพาะของ/อย่างที่มนุษย์พึงกระทำ )
2.4) มนุษย์มีเจตจำนงเสรีหรือไม่ (เลือกการกระทำได้ไหม)
2.5) มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนหรือไม่
3) ประเภทของจริยศาสตร์
3.1) จริยศาสตร์ทั่วไป (General Ethics) หมายถึง การพิจารณาหลักการกระทำของมนุษย์ส่วนบุคคล
3.2) จริยศาสตร์สังคม (Social Ethics) หมายถึง การพิจารณาหลักการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
4) คำตอบของจริยศาสตร์ (ทฤษฏีการดำเนินชีวิต)จากพื้นฐานของอภิปรัชญา (ความเป็นจริง มีลักษณะเป็น จิต/ วัตถุ และทั้งสอง)
ทำให้จริยศาสตร์มีแนวคำตอบกว้าง ๆ ได้สามแนว คือ
4.1) ศานตินิยม ได้แก่ แนวคิดที่มีพื้นฐานจากอภิปรัชญา
ที่อธิบายว่า ความเป็นจริง มีลักษณะเป็นจิต ดังนั้น
การกระทำที่ดี (การกระทำที่มนุษย์ควรกระทำเพื่อบรรลุความเป็นจริง) คือการทำให้จิตวิญญาณประสบสันติสุข)
4.2) สุขนิยม ได้แก่ แนวคิดที่มีพื้นฐานจากอภิปรัชญา ที่อธิบายว่า
ความเป็นจริง มีลักษณะเป็นวัตถุ/สสาร ดังนั้น การกระทำที่ดี (การกระทำที่มนุษย์ควรกระทำเพื่อบรรลุความเป็นจริง)
คือการทำให้ชีวิตมีความสุขทางในระดับร่างกาย (วัตถุ)
4.3) มนุษยนิยม ได้แก่ แนวคิดที่มีพื้นฐานจากอภิปรัชญาแนวทวินิยม
(ความเป็นจริง มีลักษณะเป็นทั้งจิตและวัตถุ ดังนั้น การกระทำที่ดี (การกระทำที่มนุษย์ควรกระทำเพื่อบรรลุความเป็นจริง)
ต้องมีการผสานกลมกลืนระหว่างจิตกับวัตถุ (กายและวิญญาณ)ข. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)
1) ความหมายและจุดหมายสุนทรียศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายของความงาม
ความคิดเรื่องความงามหรือปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องศิลปะหรือความงามนั่นเอง (สุเชาว์ พลอยชุม, 2545)
จุดหมายของสุนทรียศาสตร์ คือ พยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะ
ซึ่งเป็นไปตามสัญชาติญาณให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มด้วยปัญญา
2) เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์ครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับ
2.1) ความงามคืออะไร
2.2) ประสบการณ์ทางสุนทรียะคืออะไร
2.3) หลักการตัดสินว่าอะไรงาม อะไรไม่งาม
3) คำตอบจากสุนทรียศาสตร์ (ทฤษฏีความงาม)แบ่งคำตอบกว้างๆ ได้แก่
3.1 ความงามขึ้นกับแต่ละคน
3.2 ความงามขึ้นกับวัตถุ
3.3 ความงามขึ้นกับทั้งแต่ละบุคคลและวัตถุ
3.4 ความงาม คือ ความแปลกใหม่
3. สรุปประจำบทแม้ปรัชญาจะแบ่งย่อยได้สองประเภทคือ
ปรัชญาบริสุทธิ์และปรัชญาประยุกต์ โดยปรัชญาบริสุทธิ์ แบ่งได้สามสาขา/แขนง
คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา/อัคฆวิทยา
ล้วนแต่มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกันในการหาคำตอบเกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของปรัชญา
กล่าวคือ ก่อนที่เราจะไปศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนั้นว่าเป็นอย่างไร
เราต้องรู้ความจริงก่อนว่า ความจริงของสิ่งนั้น คืออะไร (อภิปรัชญา)
เมื่อเรารู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เพื่อว่าสิ่งที่เรารู้นั้นเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความจริงหรือไม่
เราย่อมต้องมีวิธีการ และหลักการรับรู้และตัดสินสิ่งที่เรารับรู้นั้น ๆ (ญาณวิทยา)
และที่สุด เรามีการนำหลักการของสิ่งนั้นไปตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ (คุณวิทยา)

ปรัชญาเบื้องต้นบทที่1

1. ความหมายของปรัชญา
1.1 ปรัชญาคืออะไร
1.1.1 ความหมายของคำ “Philosophy”

ตามรากศัพท์คำว่า “Philosophy” มาจากคำว่า “Philosophia”
(เป็นคำภาษากรีกโบราณ) ซึ่งมาจากคำ “Philia” (แปลว่า “ผู้รัก”)
และ “Sopia” (แปลว่า“ความปราดเปรื่อง”)

ดังนั้น คำว่า “Philosophia” (Philosophy)
จึงแปลว่า “ความรักในปรีชาญาณ” (Love of wisdom)
เนื่องจากชาวกรีกโบราณมักเรียกตัวพวกเขาว่า “Wise men”
เช่น Pythagoras (ราวปี 510 – 500 ก่อน ค.ศ.)
ต้องการให้เรียกท่านว่า “Lover of wisdom” หรือ “Philosopher”
นี่จึงเป็นที่มาของคำ “Philosophy” ซึ่งในสมัยต่อมา นักบุญโทมัส อาไควนัส

(ค.ศ. 1225 – 1274) ก็ใช้คำว่า Philosophy มาแทนคำว่า “Wisdom”
สรุปแล้วคำว่า “Philosophy” ตามความหมายของภาษา
คือ ความรักความปราดเปรื่อง ความปรารถนาจะเป็นปราชญ์
นั่นคือ การรู้ว่าตัวเองไม่ฉลาด แต่อยากฉลาด
1.1.2 ความหมายของคำ “ปรัชญา” (ภาษาไทย)

คำว่า “ปรัชญา” มีที่มาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณ)
อดีตราชบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา
เป็นผู้แปลศัพท์คำว่า Philosophy
เป็นคำว่า “ปรัชญา” โดยใช้รากศัพท์จากภาษาสันสกฤตว่า “ชฺญา” (รู้/เข้าใจ)
เติมอุปสรรค ปฺร เป็น ปฺรชฺญา รวมแปลว่า “ความปราดเปรื่องหรือความรอบรู้”
ดังนั้น คำว่า “ปรัชญา” (ภาษาไทย) จึงแปลว่า “ความรอบรู้ปราดเปรื่อง”
ซึ่งเป็นความหมายในเชิงอวดตัว (ไม่เหมือนคำ Philosophy ซึ่งแสดงถึงความถ่อมตน)
ความหมายของคำ “ปรัชญา” จึงไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ/กรีก (Philosophy/Philosopia)
มากนัก
1.1.3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับนิยามของคำว่า “ปรัชญา”

แม้ว่าไม่อาจนิยามความหมายของ “ปรัชญา” ได้ตรง
หรือได้มติทางการ/สากล เราบอกได้เพียงแต่ว่าปรัชญามีลักษณะอย่างไร
แต่จะให้นิยามตายตัวเหมือนศาสตร์อื่น ๆ เช่น ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ คงไม่ได้
1.1.4 คำ “Philosophy” สะท้อนถึงอะไร

จากนิยามของคำว่า “Philosophy” แสดงถึงคุณลักษณะของมนุษย์ ว่าเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีสติปัญญา (Intellectual)
กล่าวคือมนุษย์ เป็นสัตว์ ต้องการอาหาร (เหมือนสัตว์) เพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย แต่มนุษย์มีสติปัญญา
มีความปรารถนาที่จะรู้ความจริง เพื่อตอบคำถาม “อะไร” และ “ทำไม”
(Desire to know – Truth, What + why)
เกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้น (Cause of event and happening)
รอบตัวมนุษย์จึงหาคำตอบที่ “พอคิด/หาเหตุผลได้” เพื่อได้คำตอบ (What) และเหตุผล (Why)
1.1.5 สรุปความหมายของ “ปรัชญา”

สรุปความหมายของปรัชญาได้ว่า
ก. ปรัชญา คือ การแสวงหาความจริง อาศัยเหตุผล
ข. ปรัชญาคือการค้นพบความรู้เกี่ยวกับ “ความจริง”
ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ตายตัว
และเป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็น “ศิลป์” และเป็นความรู้ในฐานะ “ศาสตร์
พิเศษ” ของมนุษย์

1.2 เรียนปรัชญาไปทำไม
1.2.1
ถ้าเรียนเพื่อใช้ประกอบอาชีพ อาชีพ “นักปรัชญา” คงตกงาน
1.2.2 ถ้าถามคนทั่วไป นอกจากจะไม่ได้คำตอบแล้ว เรายัง (อาจ)
ได้คำถามเพิ่มเติมอีกว่าปรัชญาคืออะไร ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรู้จัก

หรือเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
1.2.3 เสนอแนะให้เริ่มต้น ด้วยการพิจารณาตัวอย่างขององค์กรที่นำปรัชญามาช่วยจัดระบบความคิด
และอธิบายคำสอน จากร่องรอยในประวัติศาสตร์
พบว่ามีหลายองค์กร ที่นำปรัชญามาช่วยจัดระบบ
และอธิบายคำสอน
ที่สำคัญองค์กรหนึ่ง ได้แก่ ศาสนาคริสต์
โดยเฉพาะตัวอย่างที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีพัฒนาสู่ปัจจุบัน
จากประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983
ในบรรพที่ 2 ว่าด้วยเรื่องประชากรของพระเจ้า หมวดการอบรมผู้เตรียมเป็นศาสนบริกร (สมณะ)
มีการกล่าวถึงการศึกษาวิชาปรัชญาในสองมาตราที่สำคัญ คือ
ก. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983
มาตรา 250ระบุว่าต้องศึกษาวิชาปรัชญาและเทววิทยา
อย่างน้อย 6 ปี (ปรัชญา อย่างน้อย 2 ปี และศึกษาวิชาเทววิทยาอีก 4 ปี)
เพื่อเตรียมเป็นศาสนบริกร (บาทหลวง)
ข. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983
มาตรา 251ยังระบุต่ออีกว่า “การให้การศึกษาอบรมวิชาปรัชญาต้องมีพื้นฐาน
บนปรัชญาที่เป็นมรดกตกทอดกันมาที่ใช้ได้อยู่ตลอดเวลา
และต้องคำนึงถึงการค้นคว้าทางปรัชญาแห่งยุคสมัยด้วย

การศึกษาอบรมนี้ต้องมุ่งให้เสมินาร์ (Seminarian, ผู้เตรียมตัวเป็นบาทหลวง)
มีการพัฒนาทางด้านความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
มีสติปัญญาเฉียบแหลมและช่วยเขาให้มีความพร้อมมากขึ้นที่จะศึกษาเทวิทยาต่อไป”

จากตัวอย่างของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แสดงให้เห็นว่า
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก (โดยเฉพาะผู้นำ และนักวิชาการในศาสนาคริสต์)
ซึ่งมีประสบการณ์ในการนำปรัชญามาช่วยจัดระบบและอธิบายคำสอนในคริสต์ศาสนามาตั้งแต่ยุคแรก
ยุคกลาง สืบจนยุคสมัยปัจจุบัน ให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิชาปรัชญา
เพื่อการพัฒนาสติปัญญาของผู้รับการอบรมสู่การเป็นบาทหลวง (สมณะ)
ดังนั้น จากแนวทางของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983
จึงเป็นแนวทางให้สรุปได้ว่า เรียนปรัชญาเพื่อ“คิดให้เป็น วิเคราะห์ได้แก้ปัญหา
(อธิบายความเชื่อ) ได้ แบบ มนุษย์”

2. แนวทางและความท้าทายของการศึกษาวิชาปรัชญา
2.1 แนวทางการศึกษาวิชาปรัชญา

จากตัวอย่างการสรุปความหมายของปรัชญาที่ได้นำเสนอไปข้างต้น
(ข้อ 1.1.5) ว่า ปรัชญาเป็นการแสวงหาความจริง อาศัยเหตุผล
และปรัชญา คือ การค้นพบความรู้เกี่ยวกับ “ความจริง”
ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ตายตัว
และเป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็น “ศิลป์” และเป็นความรู้ในฐานะ
“ศาสตร์พิเศษ” ของมนุษย์
ซึ่งมีแนวทางการศึกษาวิชาปรัชญาได้ดังนี้
2.1.1 วิชาปรัชญาเป็นการศึกษา “คำตอบที่เป็นไปได้

ตามเหตุผลของมนุษย์เกี่ยวกับความจริง”
(ในฐานะที่มนุษย์ยุคปัจจุบันได้รับมรดก/อารยธรรมจากบรรพบุรุษ/มนุษย์ในอดีต)

เพื่อเป็นพื้นฐาน
ก. คำถามเชิงปรัชญา – มีพื้นฐานจาก
“ความไม่เคยชินกับโลกและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว/ในตัวเอง”
นำสู่ “ความสงสัยแบบปรัชญา”
ในประเด็นว่า สิ่งนั้น คืออะไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น? (What + Why)
แล้วจึงหาคำตอบอย่างสมเหตุสมผล

ข. คำตอบเชิงปรัชญา – การทำงานในระดับสติปัญญา (ผัสสะ – สติปัญญา)
คิดหาคำตอบที่เป็นไปได้ตามเหตุผล (อย่างไม่มีวันสิ้นสุด) เพื่อตอบคำถามว่า1)
อะไรคือความจริง ทฤษฏีความจริง2) รู้ความจริงได้อย่างไร ทฤษฏีความรู้3)
เอาอะไรมาตัดสิน (ความงามและความดี)ทฤษฏีความงามและทฤษฏีจริยศาสตร์
ค. ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำถาม1) แต่ละวิทยาการ (ศาสตร์) ต่างมีคำถาม
และพยายามหาคำตอบตามแนวทางของตน (ความเชื่อศรัทธา เหตุผล ประสาทสัมผัส)

2) ปรัชญาไม่สนใจคำถามหรือคำตอบ “ในรายละเอียดปลีกย่อย"
เช่น ทำอย่างไรจึงได้ข้าว/ผลผลิตมากขึ้น ทำอย่างไรจึงบินได้
ทำอย่างไรจึงหุ่นดี ฯลฯ แต่ ปรัชญาสนใจคำถามที่เป็นส่วนลึกในจิตใจมนุษย์
เรามาจากไหน เราเป็นใคร เราจะไปไหนในวาระสุดท้ายของชีวิต

3) มีกาปรัชญา ไม่มีขีดเส้นตายจบตายตัวแบบ 1+1 เท่ากับ 2 ที่ทุกคนยอมรับ
2.1.2 จากพื้นฐาน (ความคิด/คำตอบในอดีตของนักปรัชญาเกี่ยวกับความจริง ความรู้ ความงาม ความดี)
นำสู่ “คำตอบของเราแต่ละคน” หรือที่เรียกว่า “ปรัชญาชีวิต” นั่นเอง
2.2 ความท้าทายของการศึกษาปรัชญา คือ ยังไม่มีมติสากล
2.2.1 ปรัชญาไม่มีมติสากล แม้แต่คำว่า Philosophy เอง
ยังไม่มีมติสากล เช่น ปรัชญาคือ ความรักในความจริง
หรือ ปรัชญาคือ ความรักในความรู้ หรือปรัชญาคือการเปิดเผยการเผยแสดงของพระเจ้า เป็นต้น
2.2.2 ปรัชญายังคงมี ปัญหาที่แก้ไม่ตก ยังไม่พอใจต่อคำตอบที่ได้รับ
2.2.3 ประเด็นของปรัชญา คือ การตั้งคำถาม มากกว่าที่จะยอมรับคำตอบที่ได้รับ
3. ปัญหาและเป้าหมายของปรัชญา แต่ละศาสตร์ ต่างมีคำถาม ปัญหา/โจทย์ของ
แต่ละศาสตร์มุ่งสู่ความจริงในระดับ (ธรรมชาติของศาสตร์) ที่ต่างกัน
เช่น 1+1 = 2 เป็นความจริงที่คณิตศาสตร์มุ่งหา (ด้านปริมาณ ตัวเลข)
3.1 มีการแบ่งศาสตร์ใหญ่ ๆ เป็น 3 ศาสตร์ ได้แก่ ศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์
(ต่างฝ่ายต่างมองว่าศาสตร์ของตนให้คำถามดีที่สุดเกี่ยวกับความจริง และหาเหตุผลมาอ้าง
เพื่อบอกว่า คำตอบของศาสตร์ของตนดีที่สุด)

3.2 ความจริงเป็นหนึ่ง แต่มีหลายระดับและหลายมุมมอง
แต่ละศาสตร์จึงต้อง รับผิดชอบที่จะตอบโจทย์/คำถาม/ปัญหา ของตน

โดยแต่ละศาสตร์มีสมมติฐานที่แต่ละศาสตร์ยึด โดยแยกเป็นแต่ละศาสตร์ได้คือ
3.2.1 ศาสนา มุ่งความจริงที่อยู่เหนือประสบการณ์ทางผัสสะ
หรือความจริงสูงสุด (ความรอดพ้น) ซึ่งสามารถอธิบายได้หรือไม่ได้ด้วยเหตุผลทั้งครบ
3.2.2 วิทยาศาสตร์ มุ่งความจริงที่สัมผัสได้ พิสูจน์ได้จากประสบการณ์ในระดับประสาทสัมผัส
3.2.3 ปรัชญา มุ่งความจริงที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักเหตุผล อาศัยสติปัญญาของมนุษย์
3.3 ปัญหา/เป้าหมายของปรัชญา คือ ความจริงที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักเหตุผล
3.3.1 หลักการ (สมมติฐาน) ของปรัชญาคือ ความจริง เป็นสิ่งที่เรารู้ได้ เข้าใจได้ด้วยสติปัญญามนุษย์
3.3.2 ปรัชญายอมรับเฉพาะความจริง/สิ่งที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล
(นามธรรม และ รูปธรรม) ปรัชญาพยายามปฏิเสธสิ่งที่เป็น “ความเชื่อ ที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยเหตุผล”
ปรัชญาจึงเป็นการรู้ความจริงที่ไม่ต้องพึ่งพิงคำตอบจากสวรรค์
แต่พยายามบรรลุถึงความจริง ด้วยสติปัญญาหรือการใช้เหตุผลของมนุษย์
3.3.3 ตัวอย่างคำถามเชิงปรัชญา ได้แก่

1) ปัญหาเรื่องธรรมชาติมนุษย์ เช่น มนุษย์คืออะไร
2) ปัญหาเรื่องธรรมชาติของโลก เช่น อะไรเป็นปฐมธาตุ
3) ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ เช่น มนุษย์รู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร
4) ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เช่น มีมาตรการความดีความชั่วหรือไม่
4. อัตลักษณ์และข้อสังเกตเกี่ยวกับปรัชญา
4.1 อัตลักษณ์ของปรัชญา
4.1.1 ปรัชญาไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอย ๆ แต่มาจากการที่มนุษย์พบเห็นสิ่งต่าง ๆ
และมนุษย์สงสัยในสิ่งที่ตนพบเห็น (มีประสบการณ์ถึงสิ่งนั้น ๆ ) (ความไม่เคยชินกับโลก)

4.1.2 ปรัชญามีลักษณะเป็น “โลกทัศน์ในยุคสมัย” (World-view)
พยายามตอบปัญหาประเด็นร้อนในยุคสมัยนั้น ๆ
เช่น ปัญหาปฐมธาตุ ปัญหาเรื่องพระเจ้า ปัญหาเรื่องความรู้ ปัญหาเรื่องความประพฤติ ฯลฯ
ตามความสนใจของสภาพสังคมสมัยนั้น ๆ

ปรัชญาจึงเป็นเการสะท้อนถึงความคิด ความสนใจของมนุษย์ในสมัยหนึ่ง
(ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่การศึกษาวิชาปรัชญาจึงมีความจำเป็น
ต้องศึกษาสภาพสังคมในสมัยนั้น ๆ ด้วย)
เช่น สมัยกรีก สภาพสังคมสงบ เต็มด้วยปัญญาชน

ไวน์ชั้นดี มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ ฯลฯ
อันเป็นบริบทในสมัยนั้น ส่งผลให้ปรัชญากรีกจึงมีแนวคิด

และประเด็นคำถามสอดคล้องกับบริบทสมัยกรีก เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่า อัตลักษณ์ของปรัชญา คือ
ก. ปรัชญาอิงพื้นฐานของสังคม
ข. ปรัชญาให้คำตอบแก่สังคมดังนั้น

ปรัชญาจึงเป็นระบบแห่งความคิดของมนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ณ สมัยใดสมัยหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเป็นไปของมนุษย์

ตามกาลสมัยนั้น ๆ
4.1.3 ปรัชญามีลักษณะเป็นวิพากษ์ (Critical)

เกิดจากความสงสัย อยากรู้ อยากเข้าใจ หาคำตอบโดยใช้เหตุผลที่เป็นไปได้
ก. คำตอบที่ 1 และเหตุผลอธิบาย (Thesis)
ข. คำตอบที่ 2 (ที่ตรงข้ามกับคำตอบที่ 1) และอธิบายด้วยเหตุผล(Antithesis)
ค. คำตอบที่ 3 (ที่อาจประสานระหว่างคำตอบที่ 1 และ 2
หรือเป็นคำตอบคนละแนวกับคำตอบที่ 1 และ 2)
และยกเหตุผลมาอธิบาย (Synthesis) และคำตอบที่ 3 นี้
(อาจ) เป็นแนวทางคำถามสู่ประเด็นต่อไป

4.1.4 ปัญหา/โจทย์ของปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน
(ยังเอาไปใช้ไม่ได้) เป็นเหมือนวัตถุดิบ (ข้าวเปลือก)
ไม่สนใจรายละเอียด ไม่สนใจองค์ประกอบย่อย
ไม่สนใจว่าจะเอาไปใช้อย่างไร เช่น มนุษย์คืออะไร?
ทำอย่างไรจึงมีความสุข (ไม่สนใจว่าทำอย่างไรจึงสวย หล่อขึ้น สูงขึ้น ขาวขึ้น เป็นต้น)

4.2 ข้อสังเกตเกี่ยวกับปรัชญา : ปรัชญาเป็น “ศาสตร์” หรือไม่?
4.2.1 ปรัชญาเป็น “ศาสตร์” หรือไม่ เนื่องจาก
ก. นิยามของศาสตร์ ระบุว่าศาสตร์ต้องมีลักษณะที่แน่นอน
ตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ ปรัชญาให้คำตอบที่ไม่แน่นอน
ไม่ตายตัว บางครั้งจุดเน้นเปลี่ยนไปตามกาลเวลา/ยุคสมัย/สภาพสังคม

ข. วิธีการได้มาซึ่งความรู้ของศาสตร์คือ การทดลอง พิสูจน์ด้วยหลักการ
ในขณะที่วิธีการได้มาซึ่งความรู้ทางปรัชญา
ไม่ได้ผ่านกระบวนการทดลองและพิสูจน์ด้วยหลักการแบบศาสตร์อื่น ๆ (โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์)

4.2.2 ปรัชญา เป็นศาสตร์ เนื่องจาก
ก. ปรัชญาเป็นความรู้ที่แน่นอนเรื่องสาเหตุ
ปรัชญาสนใจสาเหตุของทุกสิ่ง (ควรมองที่เนื้อหา
ไม่ใช่รายละเอียดของคำตอบ)
ข. ในขณะที่ศาสตร์ทั่วไป (โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์)
มีการทดลอง พิสูจน์ด้วยหลักการและออกมาเป็นทฤษฏี
และแม้ว่าปรัชญาจะไม่มีการทดลองและออกเป็นหลักการ
แต่ปรัชญาเป็นการศึกษาหลักการพื้นฐานของความรู้
ซึ่งศาสตร์อื่น ๆ ไม่ได้ทำ ไม่สนใจ กล่าวคือ ในขณะที่ศาสตร์อื่นๆ
โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ไม่สนใจว่าสิ่งนั้นจริงหรือไม่
แต่สนใจว่ามันประกอบหรือมันเป็นไปอย่างไร
ปรัชญาจึงเป็นศาสตร์แท้จริงและเป็นพื้นฐานของศาสตร์ทั้งหลาย

4.2.3 ปรัชญา เป็นศาสตร์พิเศษ เนื่องจาก
ก. “เนื้อหา/เป้าหมาย” ของปรัชญา กล่าวคือ
ปรัชญาศึกษาความเป็นจริงในด้านคุณค่า (ความหมายของความเป็นจริง)
และมุ่งสู่สาเหตุสูงสุด (Ultimate cause)
ในขณะที่ศาสตร์เฉพาะทาง (วิทยาศาสตร์)
ศึกษา/สนใจคุณลักษณะเฉพาะของความเป็นจริง
เช่น ดอกไม้สีแดง ปรัชญาสนใจดอกไม้ในฐานะสิ่งที่มีอยู่
ในขณะที่ศาสตร์เฉพาะจะสนใจรายละเอียด
เช่น โครงสร้าง สี อายุ ฯลฯ
ข. ปรัชญาเป็นทั้งเอกภาพและหลากหลาย
กล่าวคือ ปรัชญามีความเป็นเอกภาพด้าน “เนื้อหา/เป้าหมาย”
แต่หลากหลายด้าน “คำตอบ”
และกล่าวได้ว่าปรัชญาเป็นรากฐานของศาสตร์ทางทุกประเภท
เพราะก่อนที่เราจะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งนั้น คือ อะไร ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ปรัชญาพยายามมุ่งตอบ
4.2.3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการได้ความรู้/ความจริงซึ่งเป็นเป้าหมายของ/
ทางปรัชญาเพื่อจะได้มาซึ่งความรู้ทางปรัชญา
เราต้องใช้การทำงานของประสาทสัมผัสและสติปัญญา
เพื่อหา “สาเหตุแรก” สิ่งสากล มโนภาพของสิ่งนั้น
ปรัชญาเน้นการทำงานของสติปัญญา สนใจ “สารัตถะ” (Essence)
ของสิ่งต่าง ๆ (Sense evidence - Intellectual evidence)
สิ่งที่ปรากฏในสติปัญญา เช่น มนุษย์
ปรัชญาสนใจ “มโนภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นสากล” ไม่ใช่ปัจเจก
อะไรที่ทำให้ นาย ก. นาย ข. เป็น มนุษย์ ดังนั้น
จึงมีการเรียกปรัชญาว่า “อภิปรัชญา/Metaphysic”(เหนือกายภาพ)
5. คำแนะนำบางประการในการศึกษารายวิชาปรัชญา
5.1 การศึกษาในห้องเรียนเป็นแค่การปูทาง
แต่ต้องมีการไปศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่การศึกษาค้นคว้าหนังสือ
ตำราปรัชญา (ภาษาไทย-อังกฤษ)
5.2 อย่าลืม “คำถามของปรัชญา” จะวนอยู่สามเรื่อง
คือ ความจริงคืออะไร รู้ได้อย่างไร เอาอะไรมาวัด
5.3 ท่าทีของการศึกษาปรัชญา คือ จงศึกษาในบริบทของนักคิดท่านนั้น
ไม่ใช่ยึดตัวผู้ศึกษาเป็นหลัก เช่น เมื่อศึกษาวัตถุนิยม
(ซึ่งแน่นอนว่า มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า)
จงอย่านำพื้นฐานของนักศึกษา (เชื่อในพระเจ้า)
และมองวัตถุนิยมแต่เพียงด้านลบอย่างเดียว เป็นต้น
6. สรุปประจำบท
ปรัชญามีลักษณะเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์”
กล่าวคือ เป็นทั้งการศึกษาหลัก/ความคิดของนักปรัชญา
และการนำมาเป็นแนวคิด/หลักของเราเอง (ปรัชญาชีวิต)
ดังที่ อิมรอน มะลูลีม (2539: 5) ได้เสนอความคิดว่า
“ปรัชญาหมายถึงสองอย่างสำคัญ นั่นคือ
ความรู้กับวิถีชีวิต...ความหมายของปรัชญาจึงมีสองทาง
คือ ปรัชญาในฐานะที่เป็นความรู้และปรัชญาในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต”
ปรัชญาจึงเป็นวิถีทางที่สำคัญ อันประกอบด้วยการมีชีวิตอยู่ให้เป็นไปตามความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายชีวิตนั่นเอง

วิชาปรัชญาเบื้องต้น

วิชาปรัชญาเบื้องต้นบทที่ 1
ธรรมชาติและอัตลักษณ์ของวิชาปรัชญา
1. ความหมายของปรัชญา
2. แนวทางและความท้าทายของการศึกษาปรัชญา
3. ปัญหาและเป้าหมายของปรัชญา
4. อัตลักษณ์และข้อสังเกตเกี่ยวกับปรัชญา
5. คำแนะนำบางประการในการศึกษาวิชาปรัชญา
6. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 1 วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 2
บทที่ 2 ประเภทและสาขาของวิชาปรัชญา
1. ประเภทของปรัชญา
1.1 ปรัชญาบริสุทธิ์
1.2 ปรัชญาประยุกต์
2. สาขาของปรัชญา
2.1 อภิปรัชญา
2.2 ญาณวิทยา
2.3 คุณวิทยา
3. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 2 วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 3
บทที่ 3 กำเนิด พัฒนาการ การแบ่งยุคสมัยและภาพรวมของปรัชญา
1. กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดทางปรัชญาฯ
2. พัฒนาการและภาพรวมของปรัชญาตะวันออก
2.1 ปรัชญาอินเดีย
2.2 ปรัชญาจีน
2.3 เปรียบเทียบปรัชญาอินเดียกับปรัชญาจีน
3. พัฒนาการและภาพรวมของปรัชญาตะวันตก
3.1 ปรัชญาตะวันตกยุคกรีกโบราณ
3.2 ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง
3.3 ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่
3.4 ปรัชญาตะวันตกยุคปัจจุบัน
4. เปรียบเทียบปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก
5. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 3 วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 4
บทที่ 4 สังเขปแนวคิดทางปรัชญาที่สำคัญ
1. ทฤษฏีทางอภิปรัชญา
2. ทฤษฏีทางญาณวิทยา
3. ทฤษฏีทางคุณวิทยา
3.1 ทฤษฏีทางจริยศาสตร์
3.2 ทฤษฏีทางสุนทรียศาสตร์
4. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 4 วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 5
บทที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับวิทยาศาสตร์ ศาสนาและความเชื่อคริสตชน
1. ธรรมชาติและปัญหาเรื่องความสัมพันธ์
2. ความสัมพันธ์ของปรัชญากับวิทยาศาสตร์
3. ความสัมพันธ์ของปรัชญากับศาสนา
4. ปรัชญากับความเชื่อคริสตชน
5. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 5วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 6
บทที่ 6 คำศัพท์ปรัชญาที่ควรรู้
1. ความสำคัญและปัญหาเรื่องศัพท์ปรัชญา
2. แนะนำตัวอย่างหนังสือกำหนดคำและนิยามศัพท์เชิงปรัชญา
3. คำแนะนำต่อการทำความเข้าใจคำศัพท์ปรัชญา
4. คำศัทพ์ปรัชญา (บางคำ) ที่ควรรู้และตัวอย่างการนิยามศัพท์
5. สรุปประจำบท คำถามประจำบทที่ 6วัตถุประสงค์ประจำบทที่ 7
บทที่ 7 สรุปการเรียนการสอน (บูรณาการความรู้)คำถามประจำบทที่ 7บรรณานุกรม ภาคผนวก
1. ระบบการศึกษาอบรมของวิทยาลัยแสงธรรม
2. ภาพรวมและอัตลักษณ์การศึกษาวิชาปรัชญาของวิทยาลัยแสงธรรม